การให้ทาน

ความหมาย



     การถวายทาน คือ การถวายวัตถุที่ควรให้เป็นทาน ในพระพุทธศาสนา เรียกวัตถุที่ควร ให้เป็นทานนี้ว่า “ทานวัตถุ” ท่านจำแนกไว้ ๑๐ ประการ คือ (๑) ภัตตาหาร (๒) น้ำรวม ทั้งเครื่องดื่มอันควรแก่สมณบริโภค (๓) ผ้าเครื่องนุ่งห่ม (๔) ยานพาหนะ สงเคราะห์ ปัจจัยค่าโดยสารเข้าด้วย (๕) มาลัยและดอกไม้เครื่องบูชาชนิด ต่าง ๆ (๖) ของหอม หมายถึง ธูปเทียนบูชาพระ (๗) เครื่องลูบไล้ หมายถึง เครื่อง สุขภัณฑ์สำหรับชำระร่างกายให้สะอาด มีสบู่ถูกตัว เป็นต้น (๘) เครื่องที่นอนอันควรแก่สมณะ (๙) ที่อยู่อาศัย มีกุฏิเสนาสนะ และ เครื่องสำหรับเสนาสนะเช่น เตียง ตู้ โต๊ะ เก้าอี้ เป็นต้น (๑๐) เครื่องตามประทีป มีเทียน จุดใช้แสงตะเกียง น้ำมันตะเกียงและไฟฟ้า เป็นต้น ทั้ง ๑๐ ประการนี้ควรแก่การถวายเป็นทาน แก่ภิกษุสามเณร เพื่อใช้สอย หรือบูชาพระตามสมควร แต่การถวายทานนี้มีนิยม ๒ อย่าง คือ

     ๑. ถวายเจาะจงเฉพาะรูปนั้นรูปนี้อย่างหนึ่ง เรียกว่า ปาฏิบุคลิกทาน

     ๒. ถวายไม่เจาะจงรูปใด มอบเป็นของกลางให้สงฆ์จัดเฉลี่ยกันใช้สอยเอง อีกอย่างหนึ่ง เรียกว่า สังฆทาน

     สำหรับปาฏิบุคลิกทานไม่จำต้องมีพิธีกรรมอะไรในการถวาย เพราะผู้ถวายเกิดศรัทธา จะถวายสิ่งไร แก่ภิกษุหรือสามเณรรูปใด ก็จัดสิ่งนั้นมอบถวายเฉพาะรูปนั้น เป็นรายบุคคล สำเร็จเป็นทานแล้ว และผู้รับปาฏิบุคคลทาน จะอนุโมทนาอย่างไรนั้น ก็เป็นเรื่องส่วนบุคคลเช่นกัน


รูปแบบทาน
ทานแบบเจาะจง คือ ระบุผู้รับ เหมือนพัสดุ ที่เราส่งไปจ่าหน้าซองถึงผู้รับแล้วส่งไป หากผู้รับอยู่ ณ ที่อันควร ย่อมได้รับแน่นอน แต่หากไม่ ก็ไม่ได้รับ ของนั้นก็ตีกลับมาที่เรา
แบบไม่เจาะจง เหมือนฝนนะ ผู้ใดอยู่ในอาณาเขตของฝน ก็ย่อมชุ่มฉ่ำไปด้วยน้ำฝนนั้นนั่นเอง
ทีนี้การได้รับบุญกุศล คือ ต้องรับอนุโมทนาก่อนจึงจะได้รับ ไม่ว่าจะภพภูมิใดก็ตาม (แต่ก็มีบุญบางอย่างที่ไม่ต้องอนุโมทนา แต่ได้รับทันทีก็มี)

ทีนี้ การสวดมนต์ไหว้พระ จิตเป็นกุศลหรือเปล่า
? มีปีติ ยินดีในการสวดมนต์หรือเปล่า? ถ้ามี อุทิศให้ก็ย่อมได้ เพราะเรากระทำแล้วซึ่งกุศลให้เกิดกับจิต แต่ถ้าสวดไปฟุ้งซ่านไป คิดโน่น คิดนี่ ไม่เป็นอันสวด อันนี้ถามว่า "บุญอยู่ไหน?" อาจจะได้ ได้น้อย ก็ยังดี ก็อุทิศให้ได้เช่นกัน และอีกสิ่งที่ควรกระทำควบคู่กันไปคือ แผ่เมตตา เพราะมีบางภพภูมิที่ไม่สามารถรับบุญกุศลได้ เช่น เดรัจฉานภูมิ เขาอนุโมทนาบุญไม่ได้ เป็นต้น
ประเภททาน
กาลทาน แปลว่า ทานที่ถวายตามกาลทานที่ทรงอนุญาติให้รับได้ตามกาล
กาลทาน หมายถึงทานที่มีกำหนดระยะเวลาถวาย ซึ่งเป็นระยะเวลาที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาติให้ภิกษุรับทานเช่นนั้นได้ หากถวายก่อนหรือหลังระยะกาลนั้นไม่ถือว่าเป็นกาลทานที่เป็นกาลทาน เช่น
-
ผ้าอาบน้ำฝน ทรงกำหนดให้พระสงฆ์ รับได้ตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำเดือน ๗ ถึง วันเพ็ญเดือน ๘ รวม ๑ เดือน
-
ผ้ากฐิน ทรงอนุญาตให้พระสงฆ์รับได้ตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำเดือน ๑๑ จนถึง วันเพ็ญเดือน ๑๒ รวม ๑ เดือน
ทานพิธี
การถวายสังฆทาน หมายถึงการ ถวายสิ่งของจตุปัจจัยวัตถุแก่หมู่พระสงฆ์ โดยไม่เลือกระบุถวายเฉพาะเจาะจงแก่พระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่ง กล่าวคือ ถวายเข้าเป็นสิทธิกองกลางแก่คณะสงฆ์ภายในวัด เพื่อคณะสงฆ์จะจัดแบ่งปันแก่พระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่งที่ต้องการ หรือเพียงแค่ถวายแก่พระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่ง (โดย "ไม่เลือก" ว่าจำเพาะถวายรูปนั้นรูปนี้ เช่น เป็นพระผู้ทรงพรรษา พระรูปที่เรารู้จัก หรือพระรูปที่ตนศรัทธา) ที่เป็นตัวแทนแห่งสงฆ์ (ได้รับเผดียงสงฆ์) หรือถวายโดยมีเจตนาเพื่อบำรุงพระสงฆ์สามเณรโดยไม่เลือกผู้รับ ก็นับเป็นสังฆทานเช่นกัน (ตัวอย่าง: เช่นการใส่บาตรโดยไม่เลือกพระผู้รับ ไม่ว่าจะเป็นพระสงฆ์หรือสามเณรก็ตาม)
เมื่อพิจารณาจากมูลอันจะเป็นสังฆทานดังกล่าว การที่จะเป็นสังฆทานหรือไม่นั้น มีหลักสำคัญอยู่ที่การถวายสิ่งของเพื่อบำรุงสังฆบริษัท หรือตัวแทนแห่งสังฆบริษัท เพื่อประโยชน์ในด้านการไม่เลือกปฏิบัติและความเท่าเทียมด้านปัจจัยสี่ของพระสงฆ์นั่นเอง มีข้อควรพิจารณาประการหนึ่งว่า ในพระวินัยถือว่า ภิกษุสงฆ์ 4 รูปขึ้นไปนับเป็นองค์สงฆ์ แต่เมื่อพิจารณาจากเจตนาของพระพุทธเจ้าในทักขิณาวิภังคสูตรแล้ว หากแม้จะเป็นพระภิกษุถึง 4 รูป แต่เป็นพระที่ผู้ถวายเจาะจงระบุตัวมา ก็หานับว่าเป็นสังฆทานไม่ (คงนับเป็นปาฏิปุคคลิกทาน คือทานที่ระบุตัวพระภิกษุผู้รับถวายทาน)
การอุทิศส่วนกุศล การอุทิศส่วนกุศลและการแผ่ส่วนกุศลไม่เหมือนกัน การแผ่คือการแพร่ขยาย เป็นการเคลียร์พื้นที่ แผ่ส่วนบุญออกไป เรียกว่า สัพเพสัตตา สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิดแก่เจ็บตายด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น เรียกว่าการแผ่แพร่ขยาย แต่การอุทิศให้ เป็นการให้โดยเจาะจง ถ้าเราจะให้ตัวเองไม่ต้องบอก ไม่ต้องบอกว่าขอให้ข้าพเจ้ารวย ขอให้ข้าพเจ้าดี ขอให้ข้าพเจ้าหมดหนี้ ทำบุญก็รวยเอง เราเป็นคนทำ เราก็เป็นคนได้ และการให้บิดามารดานั้นก็ไม่ต้องออกชื่อแต่ประการใด ลูกทำดีมีปัญญา ได้ถึงพ่อแม่ เพราะใกล้ตัวเรา พ่อแม่อยู่ในตัวเรา เราสร้างความดีมากเท่าไรจะถึงพ่อแม่ มากเท่านั้น เรามีลูก ลูกเราดี ลูกมีปัญญา พ่อแม่ก็ชื่นใจโดยอัตโนมัติ ไม่ต้องไปบอก
วัตถุพิธี
ภัตตาหาร
เหตุผลในการถวายภัตตาหารแก่พระภิกษุสามเณร
     การถวายภัตตาหารแก่พระภิกษุสามเณรในพระพุทธศาสนานั้นได้ชื่อว่า บำรุงพระพุทธศาสนาส่วนหนึ่ง เพราะว่า พระพุทธศาสนาจะดำรงมั่นคงอยู่ได้นั่น ก็ต้องอาศัยบริษัท ๔ คือ พระภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา(แต่ในปัจจุบันนี้ ภิกษุณีไม่มีแล้ว ก็เหลือเพียงบริษัท ๓ เท่านั้น)
    
สำหรับอุบาสก อุบาสิกานั้น เป็นผู้ครองเรือนมีกิจธุระมากในการทำมาหาเลี้ยงชีพ ย่อมไม่ค่อยมีเวลาศึกษาพระพุทธวจนะให้บริบูรณ์สมบูรณ์ได้ ส่วนพระภิกษุสามเณรนั้น ได้ชื่อว่าเป็นผู้สละแล้วซึ่งเคหสถานบ้านเรือน บิดามารดา ญาติพี่น้อง เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา เพื่อศึกษาเล่าเรียนพระพุทธวจนะโดยตรง ย่อมจะมีโอกาสในการศึกษาเล่าเรียนพระพุทธวจนะให้บริบูรณ์สมบูรณ์ได้เท่าที่ตนเองมีความสามารถจะศึกษาได้ เมื่อมีความรู้ความเข้าใจพอสมควรแล้ว ก็นำไปอบรมสั่งสอนอุบาสก อุบาสิกา อีกทอดหนึ่ง แต่พระภิกษุสามเณรจะดำรงอยู่ในสมณวิสัย ศึกษาเล่าเรียนได้นั่นก็ต้องอาศัย อุบาสก อุบาสิกา คอยอุปถัมภ์บำรุงด้วยปัจจัย ๔ คือ ผ้าเครื่องนุ่งห่ม อาหาร ที่อยู่อาศัย และ ยารักษาโรค เพราะพระภิกษุสามเณรในพระพุทธศาสนาไม่สามารถจะประกอบสัมมาอาชีพเลี้ยงชีวิตเหมือนอย่างฆราวาสได้ จึงจำเป็นต้องอาศัย อุบาสก อุบาสิกาในการเป็นอยู่ ถ้าขาดการอุปถัมภ์ในด้านปัจจัย ๔ จากอุบาสก อุบาสิกาแล้ว พระภิกษุสามเณรก็จะอยู่ไม่ได้ จำเป็นต้องสึกหาลาเพศไปเป็นอุบาสก มีชีวิตอย่างฆราวาสต่อไป
    
     อุบาสก อุบาสิกา นอกจากจะเป็นพลเมืองของประเทศเสียภาษีตามหน้าที่ ดำเนินชีวิตไปตามกฎหมายบ้านเมืองแล้ว ยังต้องนับถือพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งที่เคารพแล้วยังต้องทำหน้าที่รักษาพระรัตนตรัยตามฐานะเหมือนกัน จะปล่อยปละละเลยให้เป็นหน้าที่ของพระภิกษุสามเณรนั่นไม่สมควรอย่างยิ่ง
     เหตุผลสำคัญในการถวายภัตตาหารอีกประการหนึ่งคือ บางคนหวังผลตอบแทนจึงถวาย โดยมีจิตผูกพันคิดว่าเราจากโลกนี้ไปแล้ว จะได้มีกินมีใช้ไม่ลำบาก บางคนถวายโดยคิดว่าเป็นการกระทำในสิ่งที่ดี เป็นการเสียสละความสุขส่วนตัวเพื่อผู้อื่น บางคนคิดว่าพ่อแม่ ปู่ ยา ตา ยาย ได้เคยถวายกันมาแล้ว เราไม่ควรละเลยประเพณีของวงศ์ตระกูล ควรอนุรักษ์เอาไว้  บางคนถวายภัตตาหาร เพราะคิดว่าพระภิกษุสามเณรไม่สามารถหุงหาอาหารอย่างฆราวาสได้ บางคนถวายภัตตาหารเป็นการเสริมสร้างเกียรติยศชื่อเสียงของตนเอง บางคนถวายภัตตาหารโดยคิดว่า เมื่อถวายแล้ว จิตใจจะผ่องใสเกิดปีติโสมนัสยินดี บางคนถวายภัตตาหารเพื่อส่งเสริมคุณภาพจิต แต่งจิตให้ดี ให้งามขึ้นให้ปราศจากความตระหนี่ เห็นแก่ตัว
หลักการในการถวายภัตตาหาร
     การถวายภัตตาหารในพระพุทธศาสนานั้น เป็นการทำบุญด้วยการถวายทานแด่พระภิกษุสามเณร ในการถวายภัตตาหารนี้ ผู้ถวายต้องคำนึงถึงหลักใหญ่ๆ ๓ ประการคือ
     ๑.ภัตตาหารที่จะถวายนั้น จะต้องเป็นของที่ตนหามาได้โดยสุจริต
    ๒.เจตนา คือ การตั้งใจในการถวาย ต้องมุ่งเพื่อชำระกิเลส เป็นประการสำคัญ
    ๓.บุคคล คือ ตัวผู้ถวายต้องเป็นผู้มีศีล และผู้รับภัตตาหารต้องเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์เหมือนกัน
ความบริสุทธิ์ของภัตตาหารที่เป็นปัจจัยในการนำมาถวายนั้นมีลักษณะดังนี้ คือ
     ๑.ปัจจัยที่นำมาใช้จ่ายในการทำอาหารนั้น ต้องเป็นปัจจัยที่หามาได้โดยการประกอบสัมมาอาชีพ อันเกิดจากหยาดเหงื่อแรงงานของตน
     ๒.ภัตตาหารที่จะนำมาถวายนั้นจะต้องเป็นสิ่งของบริสุทธิ์ มิได้เบียดเบียนชีวิตคนและสัตว์อื่น เช่น ถวายภัตตาหารแล้วทำความลำบากให้แก่ครอบครัว ญาติพี่น้องในภายหลัง หรือ การฆ่าสัตว์แล้วทำเป็นอาหารมาถวาย
      ๓.ภัตตาหารที่นำมาถวายนั้น จะต้องมีคุณภาพดี และเอาส่วนที่ดีที่สุดในบรรดาอาหารที่มีอยู่ ถ้าเป็นข้าวก็เป็นข้าวปากหม้อ ถ้าเป็นแกงก็เป็นแกงที่ตักถ้วยแรกจากหม้อ
      ๔.ภัตตาหารนั้นต้องเป็นของสมควรแก่สมณบริโภค ไม่เกิดโทษแก่พระภิกษุสามเณรและมีประมาณเพียงพอในการฉัน
เจตนาของผู้ถวายภัตตาหาร
     การถวายภัตตาหารจะมีผลานิสงส์มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับจิตใจของผู้ถวายเป็นการสำคัญคือเจตนาของผู้ถวายต้องบริสุทธิ์ในกาลทั้ง ๓ คือ
    
๑.บุพพเจตนา ความตั้งใจก่อนที่จะถวายภัตตาหาร ผู้ถวายต้องมีจิตใจบริสุทธิ์ มีศรัทธาเลื่อมใส ไม่มีความตระหนี่เสียดายของที่จะถวาย
     ๒.มุญจนเจตนา ความตั้งใจในขณะถวายภัตตาหาร ผู้ถวายจะต้องมีจิตใจเลื่อมใส ศรัทธา ปลื้มปีติยินดีในการถวายนั้น ไม่คิดเสียดาย
     ๓.อปราปรเจตนา ความตั้งใจหลังจากการถวายภัตตาหารแล้ว เมื่อหวลระลึกนึกถึงขึ้นมาครั้งใด ก็มีจิตใจปลื้มปีติยินดีในบุญกุศลนั่นๆไม่เสียดาย
อานิสงส์ของการถวายภัตตาหาร
     ผู้ถวายภัตตาหาร เมื่อทราบถึงหน้าที่ของพระภิกษุสามเณร คุณธรรมของพระภิกษุสามเณร เหตุผลในการถวายภัตตาหาร หลักการถวายภัตตาหาร ความบริสุทธิ์ของภัตตาหาร และ เจตนาของผู้ถวาย ตามที่กล่าวมาแล้วนั้น ผู้ถวายต้องประกอบตนให้มีความสมบูรณ์ในคุณธรรมด้วย การถวายภัตตาหารจึงจะได้ผลานิสงส์อย่างยิ่งใหญ่หาประมาณมิได้ และการทำบุญแต่ละครั้งนั้นเราต้องถือว่าเพื่อกำจัดกิเลส ความตระหนี่ ความเห็นแก่ตัว และความโลภ ให้กลายมาเป็นคนมีจิตใจโอบอ้อมอารีย์ มีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งเป็นคุณสมบัติของคนที่มีความเจริญ
     ผลของการถวายภัตตาหารที่ให้ผลในปัจจุบัน ๔ ประการ ตามที่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสแก่เสนาบดี ชื่อ สีหะ ในปัญจกนิบาต อังคุตตรนิกายว่า
๑.ผู้ถวายทานย่อมเป็นที่เคารพนับถือของคนดีทั้งหลาย
 ๒.คนดีย่อมพอใจที่จะคบหาสมาคมด้วย
 ๓.ย่อมได้รับการสรรเสริญจากคนดีว่า เป็นผู้มีความเสียสละปราศจากความตระหนี่
 ๔.จะเข้าไปสู่ที่ประชุมหรือชุมชนใดๆก็ไม่ประหม่า หวาดกลัว เป็นคนกล้าหาญดุจราชสีห์
     อีกอย่างหนึ่ง บุคคลที่มีจิตใจเป็นบุญเป็นกุศลทำบุญให้ทานเป็นประจำ ย่อมได้รับความสุข ความเจริญในที่ทุกสถานในกาลทุกเมื่อ เมื่อจากโลกนี้ไปแล้ว ย่อมมีจิตใจผ่องใส ไปเกิดในภพใหม่ ชาติใหม่ ก็ย่อมจะมีแต่ความสุข ความเจริญ หรือไปเกิดในภพในภูมิใดๆก็จะไม่ประสบความยากจนเข็ญใจไร้ทรัพย์อัปปัญญา จะมีแต่ความมั่งคั่งสมบูรณ์เพียบพร้อมด้วยทรัพย์สมบัติประกอบด้วยอิฏฐผล ๖ ประการ คือ
 ๑.ความเป็นผู้มีผิวพรรณดี   ๒.ความเป็นผู้มีเสียงไพเราะน่าฟัง
 ๓.ความเป็นผู้มีทรวดทรงสมส่วน  ๔.ความเป็นผู้มีรูปสวยกล่าวคือสรีระทั้งสิ้นงาม
 ๕.ความเป็นใหญ่โดยความเป็นอธิบดี
๖.เป็นผู้มีบริวารมากรวมความว่าการถวายภัตตาหารนั้นได้อานิสงส์คือบุญ และบุญให้ผลก็คือความสุขทั้งในชาตินี้และชาติหน้า



คำอธิษฐานก่อนถวายภัตตาหาร
สุทินนัง วะตะ เม ทานัง อาสะวักขะยาวะหัง โหตุ


เครื่องนุ่งห่ม
     การถวายเครื่องนุ่งห่ม การทำบุญด้วยการถวายเครื่องนุ่งห่มให้กับพระสงฆ์ดังกล่าวนี้ หมายรวมถึง การถวายเครื่องแบบสำหรับนักบวชในพุทธศาสนาทุกชนิด ซึ่งเรียกกันว่า ไตรจีวร ประกอบไปด้วย จีวรสำหรับห่ม อังสะที่สวมแทนเสื้อ และสบงสำหรับนุ่ง ส่วนผ้ารัดประคต ผ้าอาบน้ำฝนนั้น ถึงแม้จะเป็นเครื่องนุ่งห่มของพระภิกษุสงฆ์ก็จริง แต่ไม่ถูกนำมารวมเข้าเป็นชุดไตรจีวร
     การถวายไตรจีวรให้กับพระภิกษุสงฆ์นั้น ถือว่าเป็นการทำบุญครั้งใหญ่ และมักจะทำกันเป็นกรณีพิเศษ อาจจะเป็นการซื้อไตรจีวรให้กับนักบวชใหม่ที่ต้องการใช้บวช โดยเฉพาะในช่วงการอุปสมบทหมู่ ที่มักนิยมจัดการในช่วงวันขึ้นปีใหม่ของไทย หรือวันสงกรานต์นั่นเอง เพราะเชื่อกันว่ามีอานิสงส์มาก จะช่วยทำให้ครอบครัวอบอุ่น ทำมาหากินเจริญรุ่งเรือง ไม่พบกับความอับจน และมีบริวารมากมาย คนรอบข้างซื่อสัตย์และมีความเลื่อมใสศรัทธาแถมยังมากพร้อมไปด้วยเสื้อผ้าอาภรณ์ หรือไม่ขาดแคลนเครื่องนุ่งห่มนั่นเอง นอกจากนี้การบริจาคเครื่องนุ่งห่มต่างๆ เช่น  เสื้อผ้า รองเท้า ผ้าห่ม ให้กับคนที่ขาดแคลนได้มีโอกาสใช้ ก็ถือว่าเป็นการทำบุญด้วยเช่นกัน
เครื่องนอน
     การถวายเครื่องนอน การถวายที่นอนนั้นก็มีอานิสงส์ใหญ่ มีผลบุญพิเศษที่แตกต่างออกไป สามารถที่จะนอนเป็นสุขในทุกภพทุกชาติ ซํ้ายังไปมาในอากาศได้โดยสะดวก มหาสมบัติใหญ่ก็จะบังเกิดขึ้น ตลอดไปจนกระทั่งถึงภพชาติสุดท้ายที่ได้บรรลุมรรคผลนิพพาน เรื่องที่หลวงพ่อเล่ามานี้ เป็นเครื่องยืนยันว่า ใครทำกรรมดีใดไว้ ผู้นั้นก็จะได้รับมหานิสงส์ของความดีนั้น อย่างสมเหตุของการประกอบความดีงามที่ตนเองได้สร้างเอาไว้ แล้วดังนั้น เมื่อทุกท่านต่างได้รับทราบอย่างนี้แล้ว ก็ควรให้หมั่นหาบุญพิเศษให้กับตนเองกัน จะได้มหานิสงส์ที่พิเศษติดตัวเราไปทุกภพทุกชาติตราบกระทั่งถึงที่สุดแห่งธรรม
ไฟแสงสว่าง
     การถวายเทียนพรรษา เป็นโบราณประเพณีที่ทำสืบๆ มาเป็นเวลาช้านาน เมื่อถึงฤดูเข้าพรรษา ภิกษุทั้งปวงต้องจำพรรษาในอาวาสของตน 3 เดือนพุทธศาสนิกชนทั้งหลายจึงได้จัดทำให้เป็นกุศลพิธีขึ้น เมื่อได้นำเทียนไปถวายพระสงฆ์แล้ว ท่านก็จะได้จุดบูชาต่อหน้าพระประธานในพระอุโบสถ
   
ของหอมธูปเทียน
     การถวายธูปหอมบูชา อานิสงส์ของการถวายธูปหอมบูชาพระตถาคตเจ้าและพระสาวกทั้งหลาย มีมากมายถึง ๑๐ ประการด้วยกัน คือ จะเกิดไปในภพชาติใดก็ตาม  ๑.จะเป็นผู้ที่มีกลิ่นตัวหอมฟุ้งไปทั่วทุกสารทิศ  ๒.จะเป็นผู้ที่มียศใหญ่  ๓.จะเป็นผู้ที่มีปัญญาว่องไว ๔.เป็นผู้ที่มีชื่อเสียงดีงาม ขจรขจายไปทั่ว  ๕.มีปัญญาที่เฉียบแหลม ๖.มีปัญญาที่กว้างขวาง รู้ได้ครอบคลุม ๗.จะเป็นผู้ที่มีปัญญาที่แจ่มใสร่าเริง สามารถให้ทุกๆ คน  มีกำลังใจในการสร้างความดี  ๘.มีปัญญาลึกซึ้งรู้ได้ลุ่มลึกไปตามลำดับ  ๙.มีปัญญาเครื่องแล่นไปไพบูลย์ หมายถึงว่า สามารถสร้างสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อชาวโลกด้วยปัญญาของตนเอง  และประการที่ ๑๐.จะได้บรรลุพระนิพพานเป็นที่สุด  นี้เป็นอานิสงส์ของการถวายธูปที่พระอรหันต์องค์หนึ่งนามว่า ปิลินทวัจฉะได้กล่าวเอาไว้ หลวงพ่อถือโอกาสนำมาเล่าให้ได้รับทราบกัน เพราะเป็นเรื่องราวที่เป็นประโยชน์ที่น่าทำตามเป็นอย่างยิ่ง
ดอกไม้
     อารัมภกถา เป็นธรรมเนียมของพุทธศาสนิกชนที่มักนิยมถวายดอกไม้บูชาเพื่อให้เกิดความสุขสวัสดี    เป็นสิริมงคลแก่ผู้ถวายทาน ดังเนื้อความว่าด้วยการถวายดอกไม้ต่าง ๆ ในพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คัมภีร์อัปทาน ที่กล่าวถึงอานิสงส์ของบุญกริยาวัตถุด้วยการให้ทาน เช่น ในคัมภีร์อัปทาน     เรื่องจุนทเถราปทาน ว่าด้วยผลของการถวายดอกไม้แก่พระพุทธเจ้าว่า ผลอานิสงส์ของผู้ที่ถวายดอกไม้นั้นเมื่อตายไปย่อมได้ไปสู่เทวโลก แวดล้อมด้วยหมู่เทวดานางอัปสร มีวิมานอันประดับด้วยทองและแก้วมณี จะได้อยู่ในเทวโลก ๗๔ ครั้ง เป็นพระราชาในโลกมนุษย์ ๓๐๐ ครั้ง และจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๗๕ ครั้ง 
                ในล้านนา ประเพณีการถวายดอกไม้บูชาธรรมเทศมหาชาติ นิยมนำดอกบัว ดอกกาสะลอง (ปีบ) หรือดอกไม้อื่น ๆ อย่างละ ๑,๐๐๐ ดอก แขวนไว้รอบธรรมาสน์ที่พระสงฆ์ใช้เทศน์ เป็นการบูชา ด้วยคติความเชื่อที่ว่าถ้าได้ฟัง ธรรมมหาชาติ และบูชาด้วยดอกไม้พันดอก มีผลานิสงส์มาก แม้ว่าจะประกอบกรรมแล้วตกนรกก็ตาม แต่ที่สุดแล้ว ก็จะได้ไปเกิดในยุคพระศรีอาริยเมตไตรย
สาระสังเขปอานิสงส์ดอกไม้ฉบับวัดศรีทรายมูล
     ความกล่าวถึงปัจจุบันวัตถุเนื้อความกล่าวว่า เมื่อพระพุทธเจ้าประทับอยู่พระเชตวันมหาวิหารที่อนาถบิณฑิกมหาเศรษฐีสร้างถวายห่างจากนครสาวัตถีประมาณ ๕๐๐ ช่วงคันธนู ท่ามกลางเหล่าภิกษุทั้งหลาย มีพระมหากัสสปะเป็นประธานนั้น พระมหากัสสปะทูลถามถึงอานิสงส์ของการถวายดอกไม้ว่ามีผลอย่างไร พระพุทธเจ้าจึงตรัสเทศนาถึงอานิสงส์ของการถวายดอกไม้บูชาเป็นทานมีเนื้อความว่าดังนี้
     การถวายดอกไม้บูชามีอานิสงส์ไม่เสมอกัน เพราะสีของดอกไม้แต่ละอย่างไม่เหมือนกัน คือ ถวายดอกไม้สีขาวเป็นทาน ได้อานิสงส์บุญนาน ๘ กัป ถวายดอกไม้สีเหลือง ได้อานิสงส์บุญนาน ๓๐ กัป ถวายดอกไม้สีหม่น ได้อานิสงส์บุญนาน ๔ กัป ถวายดอกไม้สีดำ ได้อานิสงส์บุญนาน ๑ กัป ถวายดอกไม้สีแดง ได้อานิสงส์บุญนาน ๑ กัป
     เหล่าภิกษุมีความสงสัยจึงทูลถามพระพุทธเจ้าว่า เหตุใดการถวายบูชาดอกไม้สีแดงจึงมีผลอานิสงส์น้อย  พระพุทธเจ้าตรัสเทศนาว่า การถวายดอกไม้สีแดงเป็นทานนั้นมีอานิสงส์น้อยเพราะเหตุว่า ในอดีตยังมีสตรีผู้หนึ่งชื่อว่าคำแดง ผู้มากด้วยราคะ มีรูปร่างสูงใหญ่กว่าสตรีทั้งปวง นางได้อยู่กินกับชายผู้ชื่อว่าทิปราคะ ต่อมาตั้งครรภ์ เมื่อถึงกำหนดคลอดไม่สามารถหาที่คลอดบุตรได้ นางจึงวิ่งไปบนภูเขา ไม่ว่าจะวิ่งไปทางใด ก็ตกเลือดเปรอะไปในระหว่างทาง โลหิตตกไปบนดอกไม้ใดก็เกิดเป็นสีแดงบนดอกไม้นั้น เพราะเหตุนั้น การถวายดอกไม้สีแดงมีผลอานิสงส์น้อยก็เนื่องด้วยดอกไม้ที่มีสีแดงนั้นติดแปดด้วยโลหิตของนางนั้นเอง   
     ความตอนท้ายพระพุทธเจ้าตรัสอีกว่า การถวายดอกไม้ที่มีสีสันวรรณะต่าง ๆ กันด้วยกันมีอานิสงส์นาน ๓๖ กัป และถวายพร้อมกับวัตถุทานอื่น ๆ มีผลานิสงส์นาน ๖๐ กัป ดังนั้น การถวายดอกไม้บูชาก็ดี ถวายดอกไม้พร้อมกับวัตถุทานก็ดี ย่อมมีอานิสงส์กว้างขวางยิ่ง
ที่อยู่อาศัย
    อานิสงส์สร้างวัดและอื่นๆ เพื่อถวายพระสงฆ์ที่มาจากถิ่นฐานต่างๆให้เป็นที่พำนักอาศัยที่ปฎิบัติธรรม ที่ประกอบกุศลกิจ อันเป็นประโยชน์ต่อผู้ทรงศีล ทรงคุณธรรมนั้นมีอานิสงส์ คือ ผลดีตอบต่อผู้ถวายอย่างยิ่งใหญ่ไพบูลย์


อานิสงส์การถวายที่ดินเพื่อพระพุทธศาสนา
     การถวายที่ดินไว้ในบวรพุทธศาสนานั้นนับว่าเป็นการทำบุญในฝ่ายวัตถุทานที่มี อานิสงส์มาก และผู้ที่ทำบุญถวายที่ดินนี้นับว่า เป็นผู้ที่มีความฉลาดและโชคดีเป็นอย่างยิ่ง ด้วยเพราะผลทุกอย่างที่จะบังเกิดขึ้นหลังจากนี้ ไม่ว่าจะเป็น กุฏิ โบสถ์ วิหาร หรือแม้แต่พระพุทธรูปทุกๆองค์ในวัด ตลอดจนผลแห่งธรรมทั้งปวงที่จะเกิดขึ้นในศาสนสถานหลังจากที่ได้ซื้อที่ดิน ถวายนี้ ผู้นั้นจะได้รับผลแห่งกุศลดังกล่าวทั้งหมด เพราะทุกอย่างล้วนปลูกสร้างหรือบังเกิดมีขึ้นได้ก็ด้วยผืนแผ่นดินที่เรได้ เป็นผู้สร้างถวาย


ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น